กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
วันประสูติ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417
วันสิ้นพระชนม์ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดา เจ้าจอมมารดาตลับ เกตุทัต
พระชายา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิง
อรพัทธ์ประไพ (หย่า)
หม่อม หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
หม่อมแดง รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
หม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช
บุตร 13 พระองค์
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
(21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463)
ทรงเป็นต้นราชสกุลรพีพัฒน์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ เกตุทัต
โดยทรงมีพระเชษฐภคินีคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณี
รัชกัญญา ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในเมืองไทย จนได้รับ
พระสมัญญานามว่า "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย"
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยครั้งแรกในสำนัก
พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) เมื่อทรงผ่านการศึกษาแล้วได้
ทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้น ในสำนักครูราม สามิ และในปี พ.ศ. 2426
ได้ทรงเข้าศึกษา ภาษาไทยอยู่ในสำนักพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น) เปรียญ
ณ พระตำหนักสวนกุหลาบ ในปี พ.ศ. 2427 ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรประทับ
อยู่วัดบวรนิเวศ
เมื่อปลายปี พ.ศ. 2431ได้เสด็จไปประเทศอังกฤษ และทรง
เข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอยู่ในกรุงลอนดอน 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้
ทรงเลือกศึกษาวิชา กฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิช
ในมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด เมื่อ พ.ศ. 2433 เมื่อได้ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัย
ไครส์ตเชิช แล้วได้ ทรงอุตสาหะเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก ในที่สุดได้
ทรงสอบไล่ได้ตามหลักสูตรชั้นปริญญาเกียรตินิยม ในทางกฎหมายของ
มหาวิทยาลัยแห่งนั้นจึงเสด็จกลับกรุงเทพฯ
ทางด้านชีวิตส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง
โปรดเกล้าฯ ให้ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์
ประไพพระธิดาองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี
กรมพระจักรพรรดิพงศ์ แต่ทรงมีชีวิตร่วมกันเพียงไม่นานก็หย่าขาดจากกัน
หลังจากนั้นกทรงรับหม่อมอ่อนเป็นชายา หลังจากนั้นทรงมีหม่อมอีก
2 พระองค์ คือ หม่อมแดงและหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช สิ้นพระชนม์
ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 พระชนมายุ 47 ปี
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเริ่มรับราชการในสำนักราชเลขาธิการ และได้รับ
แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี ทรงประกอบพระกรณียกิจ อันเป็นคุณประโยชน์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อวงการกฎหมายไทยและศาลสถิตยุติธรรม ทรงดำรง
ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และสภานายกในกองข้าหลวงพิเศษ จัดการ
ปรับปรุงศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ จัดตั้งศาลมณฑล และศาลจังหวัดทั่วประเทศ,
ทรงเป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย ประมวลขึ้นเป็นกฎหมายอาญา
ฉบับ ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) , ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายเพื่อเปิดการ
สอนกฎหมาย ทรงรวบรวมและแต่งตำราคำอธิบายกฎหมายลักษณะต่างๆ
มากมาย และทรงสอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง, ทรงเป็นกรรมการตรวจ
ตัดสินความฎีกาซึ่งเทียบได้กับศาลฎีกาในปัจจุบัน, เมื่อ พ.ศ. 2443 ทรงตั้ง
กองพิมพ์ลายมือขึ้น สำหรับตรวจลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาในคดีอาญา
ตำแหน่งสุดท้ายทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงปรับปรุงกิจการ
กรมทะเบียนที่ดิน
การรับราชการในตำแหน่งที่สำคัญ
เริ่มรับราชการในสำนักราชเลขานุการ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี
-เป็นสภานายกในกองข้าหลวงพิเศษ เพื่อจัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรม
หัวเมืองทั้งปวง และสะสางคดีความทั่วราชอาณาจักร
-เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ในขณะที่มีพระชนม์มายุเพียง 22 ชันษาเท่านั้น
พระองค์ได้ทรงมุ่งมั่นในการปรับปรุงแก้ไขระเบียบศาล และงานยุติธรรมของ
ประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าเท่าทันต่างประเทศ นับว่าพระองค์
ทรงเป็นเสนาบดีที่ทรงมีพระชนมายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
-เป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย
-เป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกา
-เป็นกรรมการตรวจตำแหน่งพนักงานในรัฐบาล
-เป็นกรรมการตรวจร่างกฎหมายลักษณะอาญา
-ในปีพุทธศักราช 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้เสร็จในกรม ฯ กลับรับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตรธิการ
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 4 มีนาคม พุทธศักราช 2455 และทรง
ดำรงตำแหน่งเพียงปีเดียวก็ได้รับพระบรมราชโองการเลื่อนขึ้นเป็นพระเจ้า
พี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน
พุทธศักราช 2455
ใน พ.ศ. 2440 พระองค์ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายในประเทศไทย
ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยยืมสถานที่ของกระทรวงยุติธรรมเป็นสถานที่สอน ในการ
ดำเนินการสอนของพระองค์ท่านได้ประสบปัญหาอย่างมาก เนื่องจาก
ในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายนัก
พระองค์จึงทรงต้องคัดเลือกและสอนนักเรียนเองทุกวิชา แต่พระองค์ก็ไม่เคย
ย่อท้อแม้แต่น้อย จนกระทั่งปลาย พ.ศ. 2440 จึงเปิดให้สอบไล่ในระดับชั้น
เนติบัณฑิตเป็นครั้งแรก เพื่อให้เนติบัณฑิตเหล่านี้ได้นำสิ่งที่เรียนมาไป
แบ่งเบาภาระของพระองค์
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งสำหรับศาลไทยในเวลานั้น คือ เรื่องของศาลกงสุลต่างชาติ
ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในเมืองไทยเป็นที่รู้กันว่าชาวต่างพวกนี้มีอำนาจ
อิทธิพลมากเวลาเกิดคดีความ ข้อโต้แย้งขึ้นมาก คนไทยมักตกเป็นฝ่าย
เสียเปรียบ เพราะชาวต่างชาติมักอ้างว่ากฎหมายยังล้าหลังไม่ทันสมัยเพื่อเป็น
ข้ออ้างเอาเปรียบคนไทย ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้พิพากษาและ
เจ้าหน้าที่ศาลไทยยังไม่พร้อมที่จะรับข้อกฎหมายใหม่ ๆในเวลานั้น
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยการจ้างชาวต่างชาติมาเป็น
ผู้พิพากษาเป็นเหตุให้ผู้พิพากษาศาลไทยเกิดความกระตือรือร้นเร่งศึกษาวิชา
กฎหมายไทยและต่างประเทศทำให้ศาลไทยมีความเชื่อถือมากขึ้นและเป็นที่
ยอมรับของชาวต่างชาติ ถึงกับยกเลิกศาลกงสุลยอมให้คนชาติตัวเองมาขึ้น
ศาลไทยในส่วนการแก้ไขตัวบทกฎหมายนั้น ได้ทรงกราบบังคมทูล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
คณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ตรวจชำระพระราชกำหนด
บทพระอัยการ ตลอดจนจัดระเบียบกฎหมายที่ใช้มาเป็นเวลานานจนล้าสมัย
เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสศึกษาและเข้าใจตัวกฎหมายได้ง่ายขึ้น และเพื่อ
สะดวกต่อการพิจารณาคดีทั้งปวง คณะกรรมการชุดที่ว่านี้ประกอบไปด้วย
ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศโดยทรงเป็นองค์ประธาน
คณะกรรมการเองการยกเครื่องกฎหมายในครั้งนั้น กล่าวได้ว่า ทรงเป็น
หัวเรือใหญ่ในการร่างกฎหมายอย่างแท้จริง จนประสบความสำเร็จเป็น
ประมวลกฎหมายไทยฉบับแรก ซึ่งต่อมาเมื่อมีการประกาศการใช้กฎหมายแล้ว
ยังได้ทรงเขียนอธิบายตัวบทกฎหมายให้มีความเข้าใจได้อย่างชัดเจน
ยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อสะดวกต่อการศึกษา และให้เกิดการตีความตรงกับเจตนารมณ์
ของผู้ร่างอันถือเป็นรากฐานสำคัญของการก่อตั้งวิชานิติศาสตร์ของ
มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในปัจจุบันต่อมาคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังได้
ตรากฎหมายขึ้นมาใช้อีกหลายฉบับจนกระทั่งได้ยกฐานะเป็น
กรมร่างกฎหมายและพัฒนากลายมาเป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาในทุกวันนี้
นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2441 ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรรมการในศาล
กรรมการฎีกาหรือศาลฎีกาในปัจจุบัน มีหน้าที่คอยตรวจตัดสินความฎีกา
ซึ่งเป็นศาลสูงสุดของประเทศ "ชีวิตของฉันเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ"
จะเห็นได้ว่าตลอดเวลาที่อยู่ในตำแหน่งเสนาบดี 14 ปีได้ทรงปฏิบัติหน้าที่
อย่างเต็มพระกำลังสามารถและมีพระวิริยะอุตสาหะในการทำงานมาโดยตลอด
โดยไม่ได้ย่อท้อต่ออุปสรรคและความเหน็ดเหนื่อย
ในปี พ.ศ. 2462ได้ทรงได้รับพระราชทานอนุญาต ให้ลาพักราชการใน
ตำแหน่งเสนบดีกระทรวงเกษตราธิราชเพื่อรักษาพระองค์ด้วย ทรงประชวรด้วย
พระวัณโรคที่พระวักกะ และเสด็จไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส
แต่อาการหาทุเลาไม่ ในที่สุดได้เสด็จสิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2463 พระชนมายุได้ 47 พรรษา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเป็นนักนิติศาสตร์
ผู้ยึดมั่นใน ความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งยวด ทรงถือว่าความซื่อสัตย์สุจริต
เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะสำหรับนักกฎหมาย และทรงจัดตั้ง
โรงเรียน กฎหมายและเป็นผู้สอนวิชากฎหมายด้วย พระองค์เอง เพื่อที่จะให้มี
ผู้รู้กฎหมายมากขึ้นทรงจัดวางระเบียบศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่
ทรงรวบรวมกฎหมาย และคำพิพากษาฎีกาพร้อมแต่งตำราอธิบายกฎหมายต่าง ๆ
มากมายการค้นคว้ารวบรวมและพระนิพนธ์ได้เป็นรากฐานก่อตั้งการศึกษา
นิติศาสตร์ขึ้นในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติจึงทรง
ได้รับยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และเรียกวันที่ 7 สิงหาคม
อันเป็นคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ ทุกปีว่า "วันรพี"
คนเราควรจะให้ แต่ไม่ควรจะขออะไรจากคนอื่น
ควรจะกินพอประมาณ ไม่ควรจะมากไปถึงกับท้องกาง
ควรจะช่วยเหลือคนอื่น ไม่ใช่เหยียบย่ำ
ควรรับใช้ ไม่ควรคิดเป็นนายคน......
CREDIT คลังปัญญาไทย
วิกิพีเดีย
การใช้งาน singha66 สำหรับธุรกิจของคุณที่ต้องการเข้าสู่การขายสินค้าออนไลน์ การใช้งาน singha66 PG SLOT จะเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างแน่นอนครับ ด้วยความสะดวกและคล่องตัวในการใช้งาน
ตอบลบ